ตารางกิจกรรมที่ต้องทำ

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น
ที่ตั้งและการเดินทาง ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด รถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอด่านขุนทดให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 ไปทางอำเภอบำเน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ประมาณ 11 กม.จะเห็นซุ้มประตูวัดทางขวามือชัดเจน เลี้ยวเข้าไปอีกราว 1 กม.จะถึงที่ตั้งวัด ถ้ามาจากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ขับผ่านอำเภอปากช่องถึงอำเภอสีคิ้ว เลี้่ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 201ขับตรงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด
รถประจำทาง นั่งสองแถวที่หน้า รพ.ด่านขุนทดราคา 6 บาทหรือนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้างจากหน้ารพ.ด่านขุนทดไปส่งราคาเดียว 60 บาท
ประวัติวัดบ้านไร่ : เดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมี พระอาจารเชื่อม
วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้มีการสร้างศาสนอาคารต่างๆขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด โดยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศ ได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่นการบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

นมัสการหลวงพ่อคูณ
วันละสองครั้ง 10.00-11.00 น.,14.00-17.00 น.ในแต่วันจะมีผู้ศรัทธานับพันคนมาเฝ้ารอกราบนมัสการและถวายวัตถุปัจจัย พร้อมทั้งขอพรจากหลวงพ่อคูณโดยให้ท่านเคาะหัวจนเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคูณไปแล้ว วัตถุปัจจัยที่หลวงพ่อคูณได้รับจากชาวบ้านโดยเฉพาะเงินนั้นท่านจะคืนบางส่วนแก่ผู้ถวาย เพื่อนำไปเป็นขวัญถุงในการทำมาหากินต่อไป และเงินทองทรัพย์สินที่มีผู้ถวายมานั้นท่านก็จะนำไปพัฒนาชุมชนย่านด่านขุนทด โดยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลจัดตั้งมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้ในชุมชน จนได้ชื่อว่าเป็นพระที่ทำการบริจาคมากที่สุด วัตรปฏิบัติของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ


เที่ยวฟาร์มโชคชัย

เทียวปราสาทหินพิมาย

เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมรปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุที่สำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บริเวณใกล้กัน
ประวัติ : สร้างขึ้นเีพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761)มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมใน พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ.2494และ พ.ศ.2497กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศษ จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ.2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้
เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

ที่ตั้งและการเดินทาง : อำเภอพิมายห่างจากโคราชประมาณ 60 กม.
รถยนต์ส่วนตัวจากตัวเมืองโคราชใช้ถนนมิตรภาพ หรือทางหลวงหมายเลข 2โคราช-ขอนแ่ก่น
ประมาณ 50 กม.พบทางแยกตลาดแคให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กม.จะถึงปราสาทหินพิมายซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย
รถประจำทาง ขึ้นรถโดยสารโคราช-พิมาย ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองโคราชมีทั้งรถปรับอากากาศและรถธรรมดา รถจอดหน้าปราสาทหินพิมาย
สิ่งน่าสนใจ : ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม.ยาว1,030 ม.ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหิน มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้
คลังเงิน จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์จะเห็นคลังเงินอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือปัจจุบัน อาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานอาคารขนาดใหญ่ ที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า คลังเงิน เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์อีกด้านอีกด้านเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์
สะพานนาค เป็นทางที่ทอดนำไปสู่ตัวปรางค์มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่พบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์
ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถานลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-1688)
ซุ้มประตู หรือโคปุระชั้นนอก มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพงลักษณะสร้างเหมือนกันทุกด้าน คือมีฐานกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
พระระเบียง เมื่อมาถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลางที่น่าสนใจ คือกรอบประตูด้านทิศใต้ที่มีจารึกบนแผ่นหินเป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย และการสร้างรูปเคาพร จากพระระเบียงจะเข้าสู่ชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปราสาทพิมาย มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือปรางค์ประธานปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง
ปรางค์ประธาน มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่นๆ สันนิษฐานว่าหันไปทางเมืองพระนคร สลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนขึ้นไปห้าชั้น ส่วนยอดสลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่างๆและรูปดอกบัว ทับหล้งและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่นหน้าบันทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราชหรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่าในศาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกจะเกิดกลียุค นอกจากนี้ยังมีทับหลังที่จำหลักภาพอันเป็นหลักฐานสำคัญว่าปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา คือภาพพุทธประวัติตอน " มารวิชัย" และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ปรางค์พรหมทัต ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1761) เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพบผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในย่านพิมาย เช่นคำว่า"พี่ชายมา"ในเรื่องที่จะเล่าต่อไปก็เชื่อกันว่าเป็นที่มาของชื่อ "พิมาย"
นางอรพิมพ์ เป็นลูกสาวชาวบ้านหน้าตาสะสวย เมื่ออายุได้ 16 ปีได้อยู่กินกับปาจิตต แห่งเมืองพรหมพันธุ์นคร ระหว่างที่สามีไม่อยู่ พรหมทัตกุมารกษัตริย์เมืองแห่งหนึ่ง ได้เสด็จประพาสป่ามา พบนางอรพิมพ์โดยบังเอิญ จึงได้เอานางไปอยู่ด้วย แต่เมื่อพรหมทัตกุมารเข้าใกล้นางจะร้อนเป็นไฟ เมื่อปาจิตตกุมารกลับมาได้ออกตามหาและได้ใช้อุบายว่า เป็นพี่ชายมาพบน้องสาว นางอรพิมพ์จึงบอกกับพรหมทัตกุมารว่า" พี่ชายมา"และสามารถปลิดชีวิตพรหมทัตกุมารได้สำเร็จแล้วพากันหนีออกมาได้ จึงเป็นเรื่องเล่าขานกันสืบมา
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายและ ได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์
บรรณาลัย เป็นอาคารก่อด้วยหินทราย สีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจจะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ที่เสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม
สระน้ำ หรือบาราย โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำหรือภาษาเขมรเรียกว่า บาราย เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลายแห่ง ที่อยู่ในกำแพงเมืองคือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกกำแพงเมืองคือ สระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก
ประตูชัย เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทางสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลงด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างอยู่ในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และสันนิษฐานว่าคงได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
กุฏิฤาษี บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้จำนวนมาก ปัจจุบันเหลือเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น
ท่านางสระผม เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งใน พ.ศ.2531จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้นๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุดนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็น ศาลาจัตุรมุขซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณ ห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 200 ม. ยาว 400 ม.เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฎเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด



ไหว้ย่าโม

ประวัติ

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 สมัยกรุงเทพ มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา[1] เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้)[1]
เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม [1] ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ[1]
ท้าวสุรนารี เป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอ[1]ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี
วีรกรรมของท้าวสุรนารี และบำเหน็จความชอบ

วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า เมื่อพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโม และนางสาวบุญเหลือ ได้รวบรวมครอบครัวชาย หญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด
เมื่อความทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี พร้อมกับพระราชทานพระราชทานเครื่องยศ มีต่อไปนี้
ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก 1 ใบ
จอกหมากทองคำ 1 คู่
ตลับทองคำ 3 ใบเถา
....ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย
ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน
บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี
รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการ
ความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง
แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก
แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง....

— พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555






สถานที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีอาณาเขต ทิศเหนือจรดแม่น้ำน่าน ทิศใต้จดแม่น้ำปูน ทิศตะวันออกขนานไปตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๘๑และชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตกจรดพื้นที่อำเภอปัว กิ่งอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
อุทยานแห่งชาติดอยภูคาเป็นอุทยานแห่งแรกของจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเวียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอแม่จริม อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข และอำเภอบ่อเกลือ ครอบคลุมพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ของป่าสงวนแห่งชาติจำนวน ๓ ป่า คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคาและป่าผาแดง ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๖๘๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑,๐๕๐,๐๐๐ ไร่
สิ่งดึงดูดความสนใจ
ดอยภูคาเป็นป่าผืนใหญ่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ นับได้ว่าเป็นป่าบริสุทธิ์ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายแต่ส่วนใหญ่เส้นทางคมนาคมเพื่อการท่องเที่ยวยังเข้าไปไม่ถึง เช่น
ภูเขา ได้แก่ เทือกเขาดอยภูคา เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง๑,๙๘๐ เมตร มีเมฆหมอกปกคลุมตลอดฤดูฝนและฤดูหนาวจึงมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก
น้ำตก ป่าดอยภูคาเป็นป่าต้นน้ำลำธารเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ลำห้วย ลำธาร หลายสาย และมีน้ำตกกระจัดกระจายมากมายทั่วพื้นที่ บางแห่งมีความสวยงาม มีความสูงนับสิบชั้นไม่แพ้น้ำตกแห่งอื่นๆ ในประเทศไทย เช่นน้ำตกภูฟ้า น้ำตกแม่จริม น้ำตกต้นตอง น้ำตาดหลวง และน้ำตกห้วยโก๋น
ถ้ำ มีถ้ำขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามอยู่หลายแห่งที่สำคัญ คือ ถ้ำผาฆ้อง อยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน ถ้ำหลวง ถ้ำผาแดง ถ้ำผาแง่ม ถ้ำผาผึ้ง ถ้ำพง ถ้ำพระ เป็นต้น
ลานหินและหน้าผา เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม อยู่ที่ดอยภูแว ซึ่งเป็นดอยที่ปราศจากพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่มีเพียงหญ้าขึ้นปกคลุมเล็กน้อย และยังมีหน้าผาที่สูงชันอีกหลายแห่ง เช่น ผาแง่ม ผาผึ้ง ผาขี้นก เป็นต้น
ป่าปาล์มดงดิบ พบต้นปาล์มที่มีขนาดลำต้นสูงใหญ่มาก ลักษณะลำต้นคล้ายปาล์มขวด หรือปาล์มพันธุ์ต่างประเทศ แต่ปาล์มชนิดนี้มีขนาดลำต้นสูงใหญ่กว่า ลักษณะใบสวยงามไม่เหมือนกับปาล์มขวดที่ขึ้นอยู่บริเวณรอบ ๆ ชาวเขาเผ่าม้งเรียกปาล์มชนิดนี้ว่า "ต้นจึ๊ก" ไส้ในอ่อนของลำต้นใช้ประกอบอาหารรับประทานแทนข้าวได้
ชมพูภูคา เป็นไม้ป่าที่มีช่อดอกงดงามมากเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งของโลกมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า ไบร์ทชไนเดอร์ ซีเนนซีส ดอกเป็นสีชมพู และเนื่องจากยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทยจึงเรียกพรรณไม้ชนิดนี้ตามสีของดอกและสถานที่ค้นพบ ว่า "ชมพูภูคา"
สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
มีบ้านพักและสถานที่ตั้งเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว
เส้นทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคาอยู่ห่างจากจังหวัดน่าน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๗๐กิโลเมตร มีถนนลาดยางไปตามเส้นทางสายน่าน-ปัว (หมายเลข ๑๐๘๐) ระยะทาง ๖๐ กิโลเมตร และจากปัว-บ่อเกลือ อีกประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาระหว่างกิโลเมตรที่ ๒๔-๒๕


เขื่อนบางลาง  ตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2206 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2209, 2205

เกาะทะลุ...สวรรค์ใส ๆ กลางอ่าวไทย



เกาะทะลุ...สวรรค์ใสๆ กลางอ่าวไทย (lisa)
          ต้อนรับลมร้อนแห่งเดือนเมษาด้วยทริปเที่ยวทะเล สู่เกาะเล็ก ๆ กลางอ่าวไทยที่มากมายไปด้วยความสนุก
          เสียงสายลมเกรียวกราวพัดยอดมะพร้าวแข่งกับเสียงเกลียวคลื่น คือสัมผัสแรกเมื่อมาถึงบางสะพานน้อย อำเภอแสนน่ารักแห่งประจวบคีรีขันธ์ ด้วยว่าที่นี่มีหาดทรายยาวเหยียดงามตา เรามุ่งหน้าสู่ท่าเรือบ้านมะพร้าว ลงเรือยอชต์สีขาวสองชั้นมุ่งหน้าฝ่าแดดลมโล้คลื่นสู่ "เกาะทะลุ" ที่มีหาดทรายขาว น้ำใสแจ๋ว ปะการังสวยไม่แพ้ฝั่งทะเลอันดามันแม้แต่น้อย
 มหัศจรรย์เกาะทะลุ
          เพียง 20 กว่านาที เรือก็เทียบท่าบนเกาะทะลุ ฟ้าใสแจ่มเป็นสีครามเข้ม แสงอาทิตย์ส่องทะลุผืนทะเลมรกตลงไปเห็นฝูงปลาตัวน้อยแหวกว่ายอยู่นับพัน ๆ บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของท้องทะเลที่ยังมีอยู่มาก หลังจากอาหารเที่ยงแบบบุฟเฟต์แสนอร่อยและนั่งพักจนข้าวเรียงเม็ดแล้วก็ได้เวลาเปลี่ยนชุด ลงเรือสปีดโบ๊ตไปดำน้ำและตกหมึก ทว่าก่อนอื่นเราต้องไปชมแลนด์มาร์กและความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของเกาะทะลุกันก่อน นั่นคือ "ช่องทะลุ" ซึ่งมีลักษณะเป็นโพรงขนาดใหญ่ทะลุถึงกันสองด้านแอบอยู่ใต้เพิงผาคล้ายสะพานหิน อันเกิดจากการสึกกร่อนเพราะคลื่นลมกัดเซาะอยู่นับพัน ๆ หมื่น ๆ ปี  หากเรานำแผนที่เกาะทะลุมากางดูจะเห็นว่า เกาะแห่งนี้มีรูปร่างยาวรี หัวท้ายแหลม ตั้งอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ โดยชายฝั่งด้านตะวันตกก็คือบริเวณที่มีรีสอร์ท อ่าวงาม ๆ และทิวมะพร้าวร่มรื่น ผิดกับฝั่งด้านตะวันออกที่หันออกสู่ทะเลเปิดจะมีแต่ผาหินสีแดง ลงเล่นน้ำไม่ได้เลย



 ล่องเรือสำรวจเกาะ
          ทางรีสอร์ตพาเราออกเรือเพื่อจะได้ทำความรู้จักกับเกาะทะลุมากขึ้น พบว่าแท้จริงที่นี่มี 4 อ่าวเรียงกันอยู่ด้านตะวันตกของเกาะคือ "อ่าวมุก" อ่าวเล็ก ๆ ที่ยาวเพียง 300 เมตร เต็มไปด้วยความสงบร่มรื่นของทิวมะพร้าวโอนเอน ผู้คนไม่พลุกพล่านเหมาะมานอนอาบแดดเงียบ ๆ ถัดมาคือ "อ่าวใหญ่" ที่ใหญ่สมชื่อเพราะยาวถึง 900 เมตร เป็นหาดยาวที่สุดบนเกาะทะลุ มีบริการเล่นเรือใบ พายเรือคายัค ถัดไปอีกนิดคือ "อ่าวไทรใหญ่" อันเป็นส่วนของพี่พักและ Beach Bar ที่เราไปนั่งสรวลเสเฮฮากันเมื่อคืน สุดท้ายปลายเกาะด้านใต้คือ "อ่าวเทียน" อ่าวเล็ก ๆ สั้น ๆ มีโขดหินสีเข้มกระจายอยู่ทั่วไป หาดนี้ไม่มีที่พัก จึงเงียบสงบเป็นส่วนตัวที่สุด
 ชมปะการัง-ตกหมึก
          รู้จักเกาะสวรรค์แห่งนี้กันดีแล้ว จากนั้นความสนุกสนานก็เริ่มขึ้น เราลงดำน้ำดูปะการังกับฝูงปลาอยู่หน้าช่องทะลุ ที่นี่มีปลาแปลก ๆ สีสวย ๆ ผลัดกันแหวกว่ายมาโชว์ เช่นเดียวกับปะการังแข็งหลากชนิด ทั้งปะการังโขด ปะการังเขากวาง และมีหอยมือเสือตัวเป้ง ๆ ดูน่าตื่นตาตื่นใจดี ไม่นานนักเรือก็แล่นเวียนกลับไปทางตะวันตกของเกาะ แล้วหยุดให้พวกเรา "ตกหมึก"  ซึ่งส่วนมากเป็นหมึกกระดองที่ว่ายอยู่เป็นฝูง ๆ ในน้ำลึก เราจึงต้องใช้ปลาตัวเล็กเกี่ยวเหยื่อแล้วหย่อนสายเอ็นลงไปในน้ำ เมื่อกระตุกสายเอ็นขึ้นลงเป็นจังหวะ ไม่นานก็มีเสียงเฮเพราะได้หมึกแล้ว "นี่ถ้าออกเรือในคืนเดือนมืด แล้วเปิดไฟเรือล่อไว้รับรองว่าจะได้หมึกเพียบเลย" คนเรือเล่าให้ฟัง
          เวลาแห่งความสนุกสนานกับท้องทะเลผ่านไปอย่างรวดเร็ว เผลอนิดเดียวก็เย็นซะแล้ว เรามาดินเนอร์ริมหาดในร้านอาหารกลางแจ้งแสนโรแมนติก ลมทะเลพัดโชยชื่นใจพร้อมกับละเลียดชิมอาหารทะเลสด ๆ อร่อย ๆ ไปด้วย จากนั้นไปนั่งเล่นกันต่อที่ Beach Bar อ่าวใหญ่ ฟังเพลงเบา ๆ เคล้าธรรมชาติช่วยเติมเต็มช่วงเวลาแสนสุขให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ที่นี่ยังมีบริการสอนดูดาวที่กระจ่างอยู่เต็มฟ้าด้วยหากคุณยังไม่ง่วงจนเกินไป

 อำลาเกาะทะลุ
          วัดถัดมาหลังอาหารเช้า เราออกไปสำรวจเกาะกันต่อ พร้อมกับทำกิจกรรมจิตอาสา ช่วยกันปลูกปะการังกลับคืนสู่ท้องทะเล ด้วยการนำก้านปะการังอ่อนติดไว้กับท่อพีวีซี แล้วให้นักประดาน้ำดำลงไปวางไว้ในทะเล รอวันให้มันเติบโตขึ้นทีละน้อยเป็นสมบัติล้ำค่าต่อเติมชีวิตใต้ห้วงน้ำสีครามต่อไป
          เราเดินฝ่าแดดใสกลับมาถึง Beach Bar รีบสั่งเครื่องดื่มเย็น ๆ มาเรียกความสดชื่นคลายร้อน ระหว่างนั่งคุยกันมีประโยคหนึ่งสะกิดใจ "เช้าสบาย สายสนุก ทุกข์ไม่มีที่เกาะทะลุ..." เอ้อ...จริงด้วยนะ ตั้งแต่มาถึงที่นี่เรามีแต่ความสุข ยังไม่มีใครบ่นว่าเบื่อหรืออยากกลับบ้านเลย นี่สิ "เกาะสวรรค์กลางอ่าวไทย" หนึ่งในหัวใจเราอย่างแท้จริง
 Fast Fact
          ฤดูกาล : เกาะทะลุเที่ยวได้ตลอดปี แต่อากาศดีที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ท้องฟ้าใส คลื่นลมสงบดี
          การเดินทาง : ช่วงแรก เดินทางด้วยรถยนต์ เริ่มจากอำเภอเมืองประจวบฯ -อำเภอบางสะพานน้อย ระยะทาง 110 กม. ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 จากนั้น เลี้ยวซ้ายที่ กม. 399 เข้าถนนสาย 3497 ผ่านโรงพยาบาลและที่ว่าการอำเภอบางสะพานน้อย จนถึงท่าเรือบ้านปากคลอง หรือท่าเทียบเรือบ้านมะพร้าวรีสอร์ท ซึ่งมีอาคารสำนักงานของเกาะทะลุ รีสอร์ทตั้งอยู่ ช่วงที่สอง นั่งเรือข้ามจากฝั่งไปเกาะทะลุ ถ้าไม่ได้ซื้อแพ็กเกจของเกาะทะลุ รีสอร์ทก็ต้องเหมาเรือประมงของชาวบ้าน ไปดำน้ำแบบ One-Day ค่าเช่าเรือ 3,000-4,000 บาท (ควรเตรียมอุปกรณ์ดำน้ำไปเอง) แต่ถ้าซื้อแพ็กเกจทัวร์ของเกาะทะลุ รีสอร์ท จะมีบริการพาไปดำน้ำด้วย
          ที่พัก : เกาะทะลุเป็นเกาะส่วนตัว มีรีสอร์ทอยู่แห่งเดียว คือ Koh Talu Island Resort สำนักงานหัวหิน โทร. 032-442-636, 08-9744-5639, 08-9744-7995 สำนักงานอำเภอบางสะพานน้อย โทร. 08-9918-3715 http://www.taluisland.com/ บนเกาะมีอาหารบริการครบสามมื้อ สำหรับผู้ที่ซื้อแพ็กเกจ 3 วัน 2 คืน ส่วนใครที่ซื้อแพ็กเกจ One-Day Trip ก็มีบริการอาหารและเครื่องดื่มอย่างครบครัน

ที่มา http://travel.kapook.com/view39939.html

เกาะล้าน ทะเลสวย น้ำใส ไกล้กรุงเทพฯ

        หลังจากเคร่งเครียดกับการเรียน เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เดินซมซานออกมาจากความรัก อึ๊ย…!! ไม่ใช่แล้ว (แหะๆ) เอาเป็นว่า... หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ท้องฟ้าใสๆ สีน้ำทะเลสวยๆ อยู่ล่ะก้อ เราขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสุดเดิร์น "เกาะล้าน" ทะเลแสนสวย สายน้ำใสๆ แถมอยู่ใกล้กรุงเทพฯ อีกด้วย

"เกาะล้าน" ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี อยู่ห่างจากชายฝั่งพัทยา 7 กิโลเมตร นั่งเรือโดยสาร 45 นาทีก็ถึง (นั่งกินลมชิวๆ ชมวิวเพลินๆ) หากเดินทางโดยเรือเร็วจะใช้เวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น (เร็วจริงๆ) มีพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ เพราะน้ำทะเลที่เกาะล้านนี้ใสมากๆ แถมยังเย็นชื่นใจอีกด้วย ว่ายไปว่ายมา บ้างก็ดำผุดดำว่าย บ้างก็ลอยตัวบนผิวน้ำใสๆ ก็เพลินใจไปอีกแบบ อ๋อ... ที่เค้าเรียกว่า "เย็นกายสบายใจ" เป็นอย่างนี้นี่เอง... หรือจะเลือกไปดำน้ำดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็น "เรือลากร่มชูชีพ" สำหรับผู้ที่ชอบหวาดเสียว "เรือสกี" สำหรับผู้ที่ชอบความท้าทาย หรือจะเลือกมันส์ไปกับ "สกู๊ตเตอร์" ก็ไม่มีใครว่า

เริ่มกันที่ "หาดตาแหวน" อยู่ทางตอนเหนือของเกาะล้าน เป็นหาดทรายยาวประมาณ 750 เมตร มีความงามทางธรรมชาติมาก เพราะมีหาดทรายที่ขาวสะอาดและน้ำทะเลใสสีคราม ทั้งนี้ ปลายหาดทั้งสองด้านยังมีแนวปะการังในระดับน้ำตื้นที่มีสีสันสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกตั้งเรียงรายตลอดแนวชายหาด... ขอบอกว่าถูกใจขาช้อปเค้านักล่ะ

ต่อกันที่ "หาดสังวาลย์" ที่อยู่ติดกับ "หาดตาแหวน" มีความยาว 150 เมตร มีความสงบ จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่ชอบนอนอาบแดด อย่างไรก็ตาม หาดสังวาลย์ จะสวยงามมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน


หรือจะเลือกไปพักผ่อนที่ชายหาดขนาดเล็กเงียบสงบ เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนแบบเป็นส่วนตัวที่ "หาดทองหลาง" ซึ่งมีกิจกรรมหลัก คือ การดำน้ำดูปะการัง บริเวณปลายหาดที่เชื่อมต่อกับหาดตาแหวน ทั้ง 2 ด้านนี้ยังมีแนวปะการังน้ำตื้นที่สวยงาม และมีบริการเดินชมปะการังใต้น้ำแบบ Sea Walker ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาใช้บริการ ส่วนนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบปะการังแต่ไม่ชอบการดำน้ำ ที่หาดนี้ยังมีบริการเรือท้องกระจก ให้สามารถลงไปชมปะการังได้อย่างใกล้ชิด


"หาดแสม" อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ เป็นหาดทรายยาวประมาณ 700 เมตร มีโขดหินและพื้นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีความสวยงาม เงียบสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนและการเล่นน้ำ มีน้ำทะเลสีครามและหาดทรายที่ขาวสะอาด ปัจจุบันมีการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวม ทั้งปลูกต้นไม้ สร้างลานอเนกประสงค์ อาคารร้านค้าร้านขายอาหารที่ได้มาตรฐาน รวมถึงเส้นทางสัญจรที่สามารถเดินทางไปมาได้อย่างสะดวก จึงเป็นชายหาดอีกแห่งหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติแถบยุโรป อีกทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของอาคารปลากระเบนสำหรับควบคุมการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมและโซล่าเซลล์ ทำให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานการใช้พลังงานทดแทนในสถานที่ดังกล่าวอยู่เป็นประจำ


"หาดเทียน" เป็นหาดที่สวยงามแห่งที่สองมีความยาวของหาดประมาณ 500 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ หาดทรายแห่งนี้มีความสวยงามไม่แพ้หาดตาแหวนแต่มีขนาดเล็กและเงียบสงบจึงเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว 


"หาดนวล" อยู่ทางตอนใต้ของเกาะล้าน เป็นหาดขนาดเล็กยาวประมาณ 250 เมตร เป็นพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์เป็นของเอกชน สภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดเป็นปะการังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวที่นี่มากนัก


 กินลมชมวิวชิวๆ กันต่อที่ "จุดชมวิวเขานม" เป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดของเกาะล้าน ตั้งอยู่บริเวณเขานมใกล้ๆ กับหาดแสม นักท่องเที่ยวสามารถเดินหรือใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขึ้นไปชมความสวยงามของท้องทะเลสีครามกับตัวเมืองพัทยา ที่ธรรมชาติช่างสร้างสรรค์ได้งดงามกลมกลืนดุจภาพวาดที่ทุกคนต้องประทับใจ และบริเวณนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับนักปั่นจักรยานเสือภูเขาที่ชื่นชอบธรรมชาติอีกด้วย


 เป็นไง... สถานที่ท่องเที่ยวเยอะเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้ บริเวณรอบๆ เกาะล้านยังมีเกาะเล็กๆ ที่น่าเที่ยวไม่แพ้กันด้วยนะคะ นั่นก็คือ เกาะครก และเกาะสาก ซึ่งเป็นแหล่งตกปลา ดำน้ำดูปะการัง (ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น) ที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวอีกด้วยค่ะ   



การเดินทาง

          มีเรือโดยสารออกจากท่าเรือพัทยาใต้ไปเกาะล้านทุกวัน เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 18.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที เที่ยวกลับ มี 2 รอบ คือ เวลา 12.00 น. และ 14.00 น. อัตราค่าเรือโดยสาร คนละ 20 บาท เรือจอดที่ท่าหน้าบ้าน หากจะเดินทางต่อไปชายหาดอื่นก็สามารถเช่าเรือหางยาวหรือรถรับจ้างได้ นอกจากนี้ ยังมีบริการเรือเร็วให้เช่าอยู่ทั่วไปตามชายหาดพัทยา อัตราค่าเช่าประมาณ 2,000 - 3,000 บาท สามารถแวะเที่ยวได้หลายหาดแล้วแต่จะตกลงราคากันค่ะ

ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/20615